ประเพณีวันสงกรานต์

9797 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สงกรานต์ คือ ประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนาม และมนฑลยูนานของจีน รวมถึงศรีลังกา และประเทศทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สันนิษฐานกันว่า ประเพณีสงกรานต์นั้นได้รับวัฒนธรรมมาจากเทศกาลโฮลีในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน โดยจะจัดให้มีขึ้นในทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งก็คือเดือนมีนาคม

สงกรานต์ เป็นคำในภาษา สันสกฤต ที่หมายถึง การเคลื่อนย้าย โดยเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายการประทับในจักรราศี หรือการเคลื่อนเข้าสู่ปีใหม่ตามความเชื่อของไทยและบางประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเพณีสงกรานต์นั้นมีสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงมักเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง การส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมทีวันที่จัดสงกรานต์นี้นั้นจะมีการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ในปัจจุบันได้มีการกำหนดวันที่แน่นอน คือ ตั้งแต่ 13 – 15 เมษายน แต่เดิม วันขึ้นปีใหม่ไทย คือ วันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง พ.ศ. 2431 และได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่จนถึง พ.ศ. 2483

ประวัติวันสงกรานต์
เมื่อครั้งก่อน พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงให้พิธีสงกรานต์นั้นเป็นเทศกาลสงกรานต์ โดยได้ขยายออกไปสู่คมเป็นวงกว้างมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศคติ ตลอดจนความเชื่อไป แต่เดิมในพิธีสงกรานต์จะใช้ น้ำ เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นองค์ประกอบหลักของพิธี แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ในวันนี้จะใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ มีการรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ต่อมาในสังคมไทยสมัยใหม่เกิดเป็นประเพณีกลับบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นับว่าวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว อีกทั้งยังมีประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่ดั้งเดิม อย่าง การสรงน้ำพระที่นำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข

ปัจจุบันได้มีการประชาสัมพันธ์ในเชิงท่องเที่ยวว่าเป็น Water Festival หรือ เทศกาลแห่งน้ำ โดยได้ตัดข้อมูลในส่วนที่เป็นความเชื่อดั้งเดิมออกไป

 



ตำนานวันสงกรานต์


การกำเนิดวันสงกรานต์ มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาโดยใจความจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ ว่า …

เมื่อต้นภัทรกัลป์ มีเศรษฐีคนหนึ่ง มั่งมีทรัพย์มาก แต่ไม่มีบุตร บ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุรา ซึ่งนักเลงสุรานั้นมีบุตร 2 คน ที่ผิวเนื้อดุจดั่งทอง วันหนึ่งนักเลงสุราเข้าไปในบ้านของเศรษฐีผู้นั้น แล้วด่าด้วยถ้อยคำที่หยาบคายต่างๆ นานๆ เศรษฐีเมื่อได้ฟังแล้วจึงถามว่า

พวกเจ้ามาพูดหยาบคายดูหมิ่นเราผู้เป็นเศรษฐีเพราะเหตุใด

พวกนักเลงสุราจึงตอบว่า

ท่านมีสมบัติมากมายแต่หามีบุตรไม่ เมื่อท่านตายไป สมบัติก็จะอันตรธานไปมหด หาประโยชน์อันใดมิได้ เพราะขาดทายาทผู้ปกครอง ข้าพเจ้ามีบุตรถึง 2 คน อีกทั้งรูปร่างงดงามเสียด้วย ข้าพเจ้าจึงดีกว่าท่าน 

เศรษฐีครั้นได้ฟังก็เห็นจริงด้วย จึงเกิดความละอายต่อนักเลงสุรายิ่งนัก นึกใคร่อยากได้บุตรบ้าง จากนั้นได้ทำการบวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานเพื่อขอให้มีบุตร เมื่ออยู่ถึง 3 ปี ก็มิได้มีบุตรตามที่ปราถนา 

เมื่อขอบุตรจากพระอาทิตย์และพระจันทร์มิได้ตามดังที่ปราถนา อยู่มาวันหนึ่งเมื่อถึงฤดูคิมหันต์ จิตรมาส (เดือน 5) โลกสมมติว่าเป็นวันมหาสงกรานต์ คือ พระอาทิตย์ยกจากราศีมีนประเวสสู่ราศีเมษ ผู้คนทั้งหลายต่างพากันเล่นนักขัตฤกษ์อันเป็นการรื่นเริงขึ้นปีใหม่ไปทั่วทั้งชมพูทวีป ขณะนั้น เศรษฐีจึงพาข้าทาสบริวารไปยังต้นไทรริมฝั่งแม่น้ำอันเป็นที่อยู่แห่งปักษีชาติทั้งหลาย เอาข้าวสารซาวน้ำ 7 ครั้งแล้วหุงบูชา รุกขพระไทร พร้อมด้วยสูปพยัญชนะอันประณีต และประโคมด้วยดุริยางค์ดนตรีต่างๆ ตั้งจิตอธิษฐานขอบุตรจากรุกขพระไทร รุกขพระไทรมีความกรุณา เหาะไปขอบุตรกับพระอินทร์ให้กับเศรษฐี

ต่อมา พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลเทวบุตรลงไปปฏิสนธิในครรภ์ บิดามารดาจึงขนานนามว่า ธรรมบาลกุมาร แล้วปลูกปราสาทขึ้นให้กุมารอยู่ใต้ต้นไทรริมสระฝั่งแม่น้ำนั้น ครั้นเมื่อกุมารเจริญขึ้นก็รู้ภาษานกและเรียนจบไตรเพทเมื่อมีอายุได้ 8 ขวบ อีกทั้งยังได้เป็นอาจารย์บอกมงคลการต่างๆ แก่มนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งปวง ซึ่งขณะนั้น โลกทั้งหลายนับถือท้าวมหาพรหม มีกบิลพรหมองค์หนึ่งได้แสดงมงคลการแก่มนุษย์ทั้งปวง เมื่อกบิลพรหมได้แจ้งเหตุที่ธรรมกุมารเป็นผู้มีชื่อเสียง เป็นที่นับถือของมนุษย์ชาวโลกทั้งหลาย จึงได้ลงมาถามปัญหาแก่ธรรมกุมาร 3 ข้อ ดังความว่า 

เวลาเช้า สิริ คือ ราศีอยู่ที่ไหน
เวลาเที่ยง สิริ คือ ราศีอยู่ที่ไหน
เวลาเย็น สิริ คือ ราศีอยู่ที่ไหน


และท้าวกบิลพรหมได้ให้สัญญาว่า ถ้าท่านแก้ปัญหา 3 ข้อนี้ได้ เราจะตัดศีรษะมาบูชาท่าน ถ้าท่านแก้ไม่ได้ เราจะตัดศีรษะของท่านเสีย ธรรมกุมารรับสัญญา แต่ผลัดแก้ปัญญาไป 7 ท้าวกบิลพรหมก็กลับไปยังพรหมโลก

ฝ่ายธรรมบาลกุมารพิจารณาปัญหานั้นล่วงไปได้ 6 แล้ว แต่ก็ยังไม่เห็นอุบายที่จะตอบปัญหาได้ จึงคิดว่าพรุ่งนี้แล้วหนอที่เราจะต้องตายด้วยอาญาของท้าวกบิลพรหม เราหาต้องการไม่ จำจะหนีไปซุกซ่อนตนเสียดีกว่า เมื่อคิดแล้วก็ลงจากปราสาท ออกเที่ยวนอนที่ต้นตาล 2 ต้นซึ่งมีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียทำรังอยู่บนต้นตาลนั้น

ขณะที่ธรรมบาลกุมารนอนอยู่ใต้ต้นตาลนั้นพลางได้ยินเสียงนางนกอินทรีถามผัวว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารที่ไหน นกอินทรีตัวผู้จึงตอบว่า พรุ่งนี้ครบ 7 วันที่ท้าวกบิลพรหมถามปัญหาแก่ธรรมบางกุมาร แต่หากธรรมบาลกุมารแก้ไม่ได้ ท้าวกบิลพรหมก็จะตัดศีรษะเสียตามสัญญา เราทั้ง 2 จะได้กินเนื้อมนุษย์ คือ ธรรมบาลกุมารเป็นอาหาร นางนกอินทรีจึงถามว่า ท่านรู้ปัญหาหรือ ผู้ผัวตอบว่ารู้ แล้วก็เล่าให้นางนกอินทรีฟังตั้งแต่ต้นจนปลายว่า

เวลาเช้า ราศีอยู่ที่ หน้า คนทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างหน้า
เวลาเที่ยง ราศีอยู่ที่ อก คนทั้งหลายจึงเอาน้ำและแป้งกระแจะจันทร์ลูกไล้ที่อก
เวลาเย็น ราศีอยู่ที่ เท้า คนทั้งหลายจึงเอาน้ำล้างเท้า
ธรรมบาลกุมารที่นอนอยู่ใต้ต้นไม้ได้ยินการสนทนาของทั้งสองก็จำได้ จึงมีความโสมนัส ปีติ ยินดีเป็นอันมาก จึงเดินทางกลับมาที่ปราสาทของตน ครั้นถึงวาระเป็นคำรบ 7 วันตามสัญญา ท้าวกบิลพรหมก็ลงมาถามปัญหาทั้ง 3 ข้อตามที่นัดหมายกันไว้ ธรรมบาลกุมารก็วิสัชนาแก้ปัญหาทั้ง 3 ข้อตามที่ได้ฟังมาจากนกอินทรีนั้น ท้าวกบิลพรหมยอมรับว่าถูกต้อง และยอมแพ้แก่ธรรมบาล จำต้องตัดศีรษะของตันบูชาตามที่สัญญาไว้ แต่ก่อนที่จะตัดศีรษะ ได้เรียกธิดาทั้ง 7 อันเป็น

บาทบริจาริกาของพระอินทร์ คือ
1. นางทุงษะเทวี
2. นางรากษเทวี
3. นางโคราคเทวี
4. นางกิริณีเทวี
5. นางมณฑาเทวี
6. นางกิมิทาเทวี
7. นางมโหธรเทวี


อันโลกสมมติว่าเป็นองค์มหาสงกรานต์กับทั้งเทพบรรษัทมาพร้อมกัน จึงได้บอกเรื่องราวให้ทราบและตรัสว่า พระเศียรของเรานี้ ถ้าตั้งไว้บนแผ่นดินก็จะเกิดไฟไหม้ไปทั่วโลกธาตุ ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศฝนก็จะแล้ง เจ้าทั้ง 7 จงเอาพานมารองรับเศียรของบิดาไว้เถิด ครั้นแล้วท้าวกบิลพรหมก็ตัดพระเศียรแค่พระศอส่งให้นางทุงษะเทวีธิดาองค์ใหญ่ในขณะนั้น โลกธาตุก็เกิดโกลาหลอลเวงยิ่งนัก

เมื่อนางทุงษะมหาสงกรานต์นำพานมารองรับพระเศียรของท้าวกบิลพรหม แล้วให้เทพบรรษัทแห่ประทักษิณเวียนรอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที จากนั้นจึงเชิญเข้าประดิษฐานไว้ในมณฑป ณ ถ้ำคันธุลี เขาไกรลาศ กระทำการบูชาด้วยเครื่องทิพย์ต่างๆ ต่อมาพระวิษณุกรรมเทพบุตรได้เนรมิตโลงแก้ว อันประกอบไปด้วยแก้ว 7 ประการ แล้วให้เทพยดาทั้งหลายนำมาซึ่งเถาฉมุนาตลงล้างน้ำในสระอโนดาต 7 ครั้ง แล้วแจกกันสังเวยทั่วทุกๆ พระองค์ ครั้นได้วาระครบกำหนด 365 วัน โลกสมมติว่าปีหนึ่งเป็นวันสงกรานต์ เทพธิดาทั้ง 7 ก็ทรงเทพพาหนะต่างๆ ผลัดเปลี่ยนเวียนมาเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมออกแห่ พร้อมด้วยเทพบรรษแสนโกฏิประทักษิณเวียบรอบเขาพระสุเมรุราชบรรษัทเป็นเวลา 60 นาที แล้วจึงนำกลับไปประดิษฐานไว้ตามเดิม ซึ่งในแต่ละปีก็จะมีนางสงกรานต์แต่ละนางมาทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์

กิจกรรมวันสงกรานต์
การทำบุญตักบาตร นับว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้กับตนเอง อีกทั้งยังเป็นการอุทิศส่วนกุศลนั้นให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญในลักษณะนี้มักจะมีการเตรียมไว้ล่วงหน้า เมื่อถึงเวลาทำบุญก็จะนำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัดโดยจัดเป็นที่รวมสำหรับการทำบุญ ในวันเดียวกันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จเรียบร้อย ก็จะมีการก่อเจดีย์ทรายอันเป็นประเพณีที่สำคัญในวันสงกรานต์อีกด้วย

การรดน้ำ นับได้ว่าเป็นการอวยพรปีใหม่ให้แก่กันและกัน น้ำที่นำมาใช้รดหัวในการนี้มักเป็นน้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา

การสรงน้ำพระ เป็นการรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด ซึ่งในบางที่ก็จะมีการจัดให้สรงน้ำพระสงฆ์เพิ่มเติมด้วย

การบังสุกุลอัฐิ สำหรับเถ้ากระดูกของญาติผู้ใหญ่ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว มักทำที่เก็บเป็นลักษณะของเจดีย์ จากนั้นจะนิมนต์พระไปบังสุกุล

การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการที่เราไปอวยพรผู้ใหญ่ใที่ห้ความเคารพนับถือ อย่าง ครูบาอาจารย์ มักจะนั่งลงกับที่ จากนั้นผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำธรรมดารดลงไปที่มือ ผู้หลักผู้ใหญ่ก็จะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด หากเป็นพระก็อาจนำเอาผ้าสบงไปถวายเพื่อให้ผลัดเปลี่ยนด้วย แต่หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง หรือผ้าขาวม้าไปให้เปลี่ยน มีความหมายกับการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ในวันปีใหม่ไทย

การดำหัว มีจุดประสงค์คล้ายกับการรดน้ำของทางภาคกลาง ส่วนใหญ่จะพบเห็นการดำหัวได้ทางภาคเหนือ การดำหัวทำเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่อาวุโสว่า ไม่ว่าเป็น พระ ผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกิน หรือเป็นการขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวหลักๆ ประกอบด้วย อาภรณ์ มะพร้าว กล้วย ส้มป่อย เทียน และดอกไม้

การปล่อยนกปล่อยปลา ถือว่าการล้างบาปที่เราได้ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้กลายเป็นดี มีแต่ความสุข ความสบายในวันขึ้นปีใหม่

การขนททรายเข้าวัด ในทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาคให้พบแต่ความสุข ความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด แต่ก็มีบางพื้นที่มีความเชื่อว่า การนำทรายที่ติดเท้าออกจากวัดเป็นบาป จึงต้องขนทรายเข้าวัดเพื่อไม่ให้เกิดบาป



ข้อมูลเพิ่มเติม Wikipedia.org

Powered by MakeWebEasy.com